fbpx

สถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน

คู่มือสําหรับประชําชน: กํารขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1)
หน่วยงานที่ให้บริการ :สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสําธารณสุขหลักเกณฑ์ วิธีกําร เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคําขอ และในการพิจารณาอนุญาต
1.1 หลักเกณฑ์
1.1.1 สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงานหมายถึงสถานที่ผลิตอาหารที่มีการใช้เครื่องจักรกําลังแรงม้าหรือกําลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมไม่ถึง 50 แรงม้าและใช้คนงานรวมไม่ถึง50 คนโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
1.1.2 ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ. 2562 ระบุไว้ว่าสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ให้ยื่นคําขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน ตามแบบ สบ.1 แนบท้ายระเบียบนี้ พร้อมหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบ สบ.1
1.2 สถานที่ผลิตอาหารต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามข้อกฎหมายแล้วแต่กรณี ดังนี้
1.2.1 กรณีเป็นสถานที่ผลิตอาหารทั่วไป ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
1.2.2 กรณีเป็นสถานที่ผลิตเกลือบริโภค ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ตามบันทึกการตรวจสถานที่ผลิตเกลือบริโภค
1.2.3 กรณีเป็นสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220) พ.ศ. 2544 เรื่อง น้ําบริโภคในภําชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (จีเอ็มพีเฉพําะของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท)
1.2.4 กรณีเป็นสถานที่ผลิตนมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่ําเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอไรส์ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสําธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอไรส์
(จีเอ็มพีเฉพาะของนมพร้อมดื่มชนิดเหลวพาสเจอร์ไรส์)
1.2.5 กรณีเป็นสถานที่ฉํายรังสีอาหารต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องอาหารฉายรังสีประกาศณวันที่14 กันยายน 2553
1.2.6 กรณีเป็นสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่าย ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2555 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (จีเอ็มพีของอาหารแปรรูปในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่าย)
1.2.7 กรณีเป็นสถานที่ผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด
(จีเอ็มพีเฉพาะของอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด)
1.2.8 กรณีเป็นสถํานที่คัดและบรรจุผักหรือผลไม้สดบางชนิด ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก(จีเอ็มพีเฉพาะของผักหรือผลไม้สดบางชนิด)1.2.9 กรณีเป็นสถานที่ผลิตอาหารอื่น
นอกเหนือจาก 1.2.1-1.2.8 ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2544) เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 (พ.ศ. 2543)
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 (ฉบับที่ 2) (จีเอ็มพีทั่วไป)
1.3 เงื่อนไข1.3.1 ผู้ยื่นขออนุญําต ต้องลงนามในแบบคําขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1) (จัดพิมพ์เอกสารเป็นหน้า-หลัง)ต้องเป็นผู้ดําเนินกิจการหรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือรับรองของนิติบุคคล
1.3.2 กําหนดให้ผู้ยื่นคําขอต้องจัดเรียงเอกสํารแบบคําขอและหลักฐานประกอบ
พร้อมตรวจสอบให้ครบถ้วนถูกต้องตามแบบตรวจสอบคําขอและบันทึกข้อบกพร่อง (Checklist)และให้ผู้ยื่นขออนุญาตเป็นผู้ลงนามในแบบคําขอฯส่วนเอกสารประกอบการพิจารณาอื่นๆ ผู้ยื่นคําขอสามารถลงนามรับรองได้
1.3.3 ผู้ยื่นคําขอต้องยื่นคําขอและเอกสํารหลักฐํานด้วยตนเองโดยการยื่นคําขอที่ OSSC สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาสําหรับสถานที่ผลิตที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯหรือสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดแต่มีผลิตประเภทอาหารที่ไม่ได้มอบอานาจให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ซึ่งประเภทอาหารที่ยังไม่ได้มอบอํานาจให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมีดังนี้
1)นมดัดแปลงสําหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก
2)วัตถุเจือปนอาหาร ยกเว้น แบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเลขสารบบอาหารแล้ว
3)อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก
4)อาหารสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้าหนัก
5)อาหารเสริมสําหรับทารกและเด็กเล็ก
6)ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยกเว้นแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเลขสํารบบอาหารแล้ว
7)รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี ยกเว้นแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเลขสํารบบอาหารแล้ว
8)นมโค
9)นมปรุงแต่ง
10)ผลิตภัณฑ์ของนม
11)นมเปรี้ยว
12)อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ยกเว้น หน่อไม้ปรับกรดบรรจุปี๊บ
13)อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษสําหรับประเภทอาหารนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้นให้ติดต่อยื่นคําขอได้ที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดณจังหวัดที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่
1.3.4 ผู้ยื่นคําขอต้องสามํรถให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ยื่นคําขอได้รวมทั้งมีอำนาจตัดสินใจและลงนามรับทราบข้อบกพร่องได้(กรณีไม่ใช่ผู้ดําเนินกิจการหรือกรรมกํรผู้มีอํานําจลงนํามตํามหนังสือรับรองของนิติบุคคลให้มีหนังสือมอบอํานาจเป็นผู้ดําเนินการแทนแนบด้วย)
1.3.5 ผู้ยื่นคําขอต้องระบุประเภทอาหารที่ขออนุญําตซึ่งจะต้องสอดคล้องกับที่ระบุในแบบฟอร์มรายงานผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ GMP กฎหมําย (Audit Report)(ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่คู่มือสําหรับประชาชนเรื่องการขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร)
1.3.6 ในกรณีที่คําขอหรือเอกสํารหลักฐํนไม่ครบถ้วน และ/หรือมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์เป็นเหตุให้ไม่สามารถพิจารณาได้เจ้าหน้าที่จะจัดทําบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติมโดยผู้รับบริกํรจะต้องดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสํารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด
ในบันทึกข้อบกพร่องมิเช่นนั้นจะถือว่ําผู้รับบริการละทิ้งคําขอ
1.3.7 การไม่อนุญาตคําขอ:สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสํานักงานสําธารณสุขจังหวัดจะพิจํารณําไม่อนุญาตคําขอฯ ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) กรณีผลการตรวจสอบเอกสํารหลักฐํานแล้วพบว่าไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักวิชาการ หรือไม่สอดคล้องตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน
2) กรณีรายงานผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ GMP กฎหมําย (Audit Report) ไม่ถูกต้องตรงตามข้อมูลในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาที่ผู้ยื่นคําขอส่งมอบไว้
หมํายเหตุ: ขั้นตอนการดําเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชําชนเรียบร้อยแล้วและเมื่อดําเนินการเสร็จสิ้นจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ