fbpx

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่จัดเป็นเครื่องสำอาง

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่จัดเป็นเครื่องสำอาง

เนื่องจากเครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่บุคคลทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสะอาด ความสวยงาม
หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏโดยไม่ได้มีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี รวมทั้งแต่งกลิ่นหอม ดังนั้น

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่นอกขอบข่ายจากที่กล่าวมาย่อมไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง เช่นตัวอย่างต่อไปนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายเพื่อ
    1.1 ใช้เฉพาะกับผู้ป่วยเท่านั้น เช่น ถุงมือ/กระดาษเคลือบ Moisturizer ใช้เช็ดตัวผู้ป่วย
    1.2 ใช้เฉพาะกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ยา/เคมีบำบัด เช่น
  • ผลิตภัณฑ์ใช้ทาในช่องปากเพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง (ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์
    จากการใช้ยา หรือ Chemotherapy)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาฟัน ทาเหงือกที่ไม่ใช่เพื่อความสะอาด เช่น เพื่อลดอาการเสียวฟัน
  • ใช้ทาเพื่อ Relief of menstrual discomfort or menopausal symptoms
    1.3 ใช้วินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผลิตภัณฑ์ทาบาดแผล
    แผลกดทับ ผด ผื่นคัน ผิวที่แห้งหนาผิดปกติ ลอกตาปลา ทาบริเวณที่ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เส้นเลือดขอด
    ผลิตภัณฑ์ลักษณะเป็นถุง หรือลูกประคบไม่ว่าจะแสดงสรรพคุณ ทางยาหรือไม่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อบรรเทา
    หรือรักษาโรคข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม เป็นต้น
  1. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกับเข็มฉีดยา หรือใช้ร่วมกับเครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อผลักสารผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย เช่น
    2.1 สีที่ใช้กับเข็มเพื่อการสักแบบถาวร (Permanent Tattoo) เช่น สีที่ใช้สักผิวกาย สักคิ้ว เป็นต้น
    2.2 ผลิตภัณฑ์ที่ฉีดด้วยเข็มฉีดยา เช่น Botox ฉีดเพื่อขจัดริ้วรอย / Filler ฉีดเติมร่องผิว เพื่อลดริ้วรอย หรือปรับรูปหน้า
    2.3 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องมือแพทย์ เช่น
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่อง Iontophoresis/Laser/Phono/IPL (Intensed Pulse Light)
    Ultra Deep เพื่อผลักสารผ่านผิวหนัง
  1. ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันที่มี Hydrogen peroxide สูงกว่า 6%
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประกอบการทำหัตถการต่างๆ เพื่อการฆ่าเชื้อ เช่น
    4.1 ผลิตภัณฑ์เช็ดผิวหนังก่อนฉีดยา/ก่อนผ่าตัด เช่น สำลีชุบแอลกอฮอล์ทั้งรูปแบบก้อนและแผ่น/ผ้าก๊อซ ชุบแอลกอฮอล์
    4.2 ผลิตภัณฑ์เช็ดผิวหนังก่อนเจาะหู
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะกับส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของคำนิยามเครื่องสำอาง หรือที่มิใช่เพื่อความสะอาด/สวยงามในชีวิตประจำวัน เช่น
    5.1 ใช้พ่นเข้าในจมูก/ลำคอเพื่อความสะอาด (จมูก/ลำคอ ไม่ใช่ส่วนของร่างกายตามคำนิยามของเครื่องสำอาง)
    5.2 ใช้หยอดหรือล้างภายในหู
    5.3 ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น ยกเว้น ผ้าอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอดและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้น
    ภายนอก
    5.4 ใช้สวนล้างในช่องคลอด (Douche)
    5.5 ใช้ย้อมขนคิ้ว ขนตา
  4. ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้เพื่อให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกาย เช่น
    6.1 ใช้ทา/นวดเพื่อลดความอ้วน สลายไขมัน หรือกำจัดเซลลูไลท์
    6.2 ใช้ทาเพื่อเปลี่ยนแปลงขนาดทรวงอก
    6.3 ใช้ทาเพื่อปลูกผม ขนคิ้ว ขนตา
    6.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อโครงสร้างร่างกายตั้งแต่ในส่วนของผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นต้นไป
  5. ใช้ทาเพื่อวัตถุประสงค์ที่นอกขอบข่ายนิยามเครื่องสำอาง เช่น ทาผิวกายเพื่อไล่ยุงและแมลง/ทาบริเวณที่แมลงกัด ต่อย/ชโลมเส้นผมเพื่อกำจัดเหา
  6. ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ใช้กับร่างกายมนุษย์โดยตรง เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันหอมระเหย (Aromatherapy)
    ที่ใช้กลิ่นเพื่อการบำบัดและระบุสรรพคุณบรรเทา รักษาโรค หรืออาการของโรค หรือสูดดมเพื่อผ่อนคลาย/ สเปรย์ ปรับอากาศ/สเปรย์ฉีดเสื้อผ้า/สเปรย์ฉีดรองเท้า
  7. ผลิตภัณฑ์ที่แฝงเจตนาด้านเพศสัมพันธ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ใช้เพื่อหล่อลื่นทางเพศสัมพันธ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่แฝงเจตนาว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม
  8. ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นกาวซึ่งไม่ได้สัมผัสกับส่วนของร่างกายโดยสภาพมิใช่เครื่องสำอาง เช่น กาวสำหรับติด วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มิได้สัมผัสกับส่วนของร่างกาย (ยกเว้นกาวติดขนตาปลอม / กาวติดเล็บเทียม)
  9. สติ๊กเกอร์ลวดลายต่างๆสำหรับตกแต่งผิวหน้าและผิวกาย ที่ไม่มีส่วนผสมของสารตามตำราเครื่องสำอางผสมอยู่
  10. กระดาษซับหน้ามัน ที่ไม่มีสารด้านเครื่องสำอางผสมอยู่
  11. ผ้าอ้อมเด็ก และผ้าอ้อมผู้ใหญ่
  12. ไหมขัดฟัน ที่ไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  13. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลดการเสียดสีและช่วยการลดเหงื่อระหว่างออกกำลังกายเพื่อจับยึดอุปกรณ์กีฬา
  14. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับให้ความเย็นลดอุณหภูมิร่างกาย เช่น COOLING SPRAY
  15. ผลิตภัณฑ์สำหรับแผลเป็นที่มีสาร SILICONE เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์เพื่อลดการนูนของแผลเป็น
  16. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ที่มีฤทธิ์ TOXIN ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ เช่นสาร methionyl r-clostridium
    botulinum polypeptide-1 hexapeptide-40
  17. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปหรือกิจกรรมเฉพาะ โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เพื่อขจัดคราบจารบี สี หมึก กาว หรือคราบน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันยาง ยางเรซิน หรือเช็ดเครื่องยนต์ต่างๆ เนื่องจากไม่ใช่
    การทำความสะอาดผิวในชีวิตประจำวันปกติ
  18. ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ไม่ล้างออกสำหรับเด็ก เนื่องจากเด็กมีโอกาสกลืนกิน
  19. ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็ก เว้นแต่มีผลประเมินความเสี่ยงผลิตภัณฑ์นี้ในเด็ก

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่จัดเป็นเครื่องสำอาง อาจเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น

  • ผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำหน้าที่
    ของร่างกาย จะเข้าข่ายเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นต้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องมือที่สามารถผลักสารผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย จะจัดเป็นเครื่องมือแพทย์
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาผิวกายเพื่อไล่แมลง จะจัดเป็นวัตถุอันตราย
    ทั้งนี้ หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะอยู่ในความดูแล
    ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น น้ำหอมปรับอากาศ สติ๊กเกอร์ที่ไม่มีสารด้านเครื่องสำอาง